Chinese (Simplified) French German Italian Japanese Korean Lao Malay Myanmar (Burmese) Russian Spanish English Thai

คู่มือการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ

1. ประกาศผู้อำนายการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ที่ 1/2564  เรื่อง จัดตั้งศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ

20211009110600231

2.ประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
และ  ประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
20211006110712755
3.ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง กำหนดจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และสถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการหาเสียง
เลือกตั้ง และติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ

20211010101526745

4.คู่มือการรับสมัครรับเลือกตั้ง อบต.
เอกสารความรู้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

คู่มือ

5.คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

6.ใบรับรองแพทย์ที่จะใช้ในการสมัครให้มีข้อความนี้อยู่ในเอกสารด้วยหากไม่มีข้อความแนะนำใบรับรองแพทย์นั้นติดต่อคลินิกหรือโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มข้อความ ดังนี้ “ไม่ปรากฎอาการของการติดสารเสพติดให้โทษ”

7. ระเบียบ กกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563

article_20201219004713

8.ระเบียบ กกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563

article_20201219004754

9. ปฏิทินการเลือกตั้ง สมาชิกสภา อบต. และ นายก อบต.

 

บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ สภาชิกสภา อบต.และ นายก อบต.

การทำเครื่องบนบัตรเลือกตั้งที่ถูกต้อง ตัวอย่าง บัตรดี และ บัตรเสีย

การเตรียมความพร้อมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องดำเนินการเตรียมพร้อมก่อนไปใช้สิทธิ ดังนี้

1. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน
ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน
ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน

2. การเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
หากพบว่าตนเองหรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

 

การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • – มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

  • – เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • – เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • – เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

  • – มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร

  • – ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง

  • – มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

  •  

กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

 

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้

  1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.

  2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

  3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.

  4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

  5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

  6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น

    การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

 

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ เพิ่มเติมจากผู้เขียน

ความเห็นถูกปิด